โรคฮีทสโตรก ภัยร้าย หน้าร้อน

Last updated: 5 เม.ย 2567  |  195 จำนวนผู้เข้าชม  | 

โรคฮีทสโตรก ภัยร้าย หน้าร้อน

โรคฮีทสโตรก ภัยร้าย หน้าร้อน

       “โรคลมแดด” หรือ “ฮีทสโตรก” ( Heatstroke ) คือ โรคอันตรายที่พบได้บ่อยในช่วงหน้าร้อน โดยเกิดจากที่อยู่ท่ามกลางอากาศร้อนมากเกินไป ทำให้เกิดภาวะร่างกายมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ เมื่อเกิดอาการควรได้รับการรักษาในทันที เพราะอาจส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อหัวใจ สมอง ไต และกล้ามเนื้อ หากได้รับการรักษาที่ล่าช้า อาจทำให้อันตรายถึงแก่ชีวิตได้

สาเหตุของอาการฮีทสโตรก

ฮีทสโตรกแบ่งตามสาเหตุได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ

โรคลมแดดที่ไม่ได้เกิดจากการใช้กำลังกายหนัก (classical heatstroke or non-exertional heatstroke: NEHS) 
     การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ร้อนทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น โรคลมแดดแบบคลาสสิกหรือแบบไม่ต้องออกแรงมักเกิดขึ้นหลังจากสัมผัสกับสภาพอากาศที่ร้อนและชื้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นเวลานาน

ฮีทสโตรกจากภายนอก
     โรคลมแดดที่เกิดจากการออกแรงนั้นเกิดจากกิจกรรมที่ต้องใช้กำลังมากหรือการออกกำลังกายอย่างหนักในสภาพอากาศร้อน ส่งผลให้อุณหภูมิแกนกลางของร่างกายเพิ่มขึ้นแม้ว่าใครก็ตามที่ออกกำลังกายหรือทำงานในสภาพอากาศร้อนสามารถเป็นโรคลมแดดได้ แต่ก็มีแนวโน้มที่จะพัฒนาได้หากคน ๆ หนึ่งไม่คุ้นเคยกับอากาศร้อน นอกจากนี้ โรคลมแดดยังเกิดขึ้นได้จากการสวมเสื้อผ้าที่หนาเกินไปซึ่งป้องกันเหงื่อไม่ให้ระเหยได้ง่าย และการดื่มแอลกอฮอล์ซึ่งส่งผลต่อการควบคุมอุณหภูมิ รวมถึงภาวะขาดน้ำจากการดื่มน้ำไม่เพียงพอเพื่อเติมของเหลวที่สูญเสียไปจากการขับเหงื่อ

อาการของโรคลมแดด
     •  ตัวร้อนขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้ความร้อนในร่างกายสูงถึง 40 องศา
     •  ไม่มีเหงื่อออก รู้สึกกระหายน้ำมาก
     •  หายใจถี่ ชีพจรเต้นแรง
     •  ปวดศีรษะ หน้ามืด ความดันโลหิตต่ำ
     •  อ่อนเพลีย คลื่นไส ้อาเจียน

การป้องกันโรคลมแดด
     •  ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว
     •  ใส่เสื้อผ้าสีอ่อน ระบายอากาศได้ดี
     •  ใช้ครีมกันแดด SPF 15 และไม่ควรทาครีมกันแดดหนาจนเกินไป
     •  หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดด หรือ การเล่นกีฬาในสภาพอากาศที่ร้อนจัด
     •  งดเครื่องดื่มแอลกฮอล์

ภาวะแทรกซ้อนจากฮีทสโตรก
     หากไม่รักษาฮีทสโตรกอย่างทันท่วงที อาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ขึ้นกับอุณหภูมิร่างกายที่สูงเป็นเวลานาน หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันที โรคลมแดดอาจถึงแก่ชีวิตได้ ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง ได้แก่
     สมอง : ชัก สมองบวม และเซลล์ประสาทถูกทำลายอย่างถาวร
     กล้ามเนื้อ : การสลายของกล้ามเนื้อโครงร่าง (rhabdomyolysis)
     ไต : การบาดเจ็บของไตเฉียบพลันที่เกิดจากการสลายตัวของกล้ามเนื้อโครงร่างที่ปล่อยสารเข้าสู่กระแสเลือด
     ตับ : ความผิดปกติของตับเฉียบพลันที่เกิดจากการขาดน้ำและเลือดไปเลี้ยงตับน้อยลง
     หัวใจ : ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะและภาวะหัวใจล้มเหลวที่เกิดจากหัวใจทำงานหนักเกินไป
     ปอด : ภาวะปอดร้ายแรงที่ทำให้ออกซิเจนในเลือดต่ำ (กลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน)
ระบบการแข็งตัวของเลือด ภาวะเลือดออกผิดปกติ หรือลิ่มเลือดอุดตันในร่างกาย

 

อ้างอิง : https://www.paolohospital.com/

อ้างอิง : https://bangkokpattayahospital.com/th/

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้