รู้หรือไม่ รองเท้ามีผลต่อเท้าลูก

Last updated: 7 พ.ย. 2566  |  1529 จำนวนผู้เข้าชม  | 

รู้หรือไม่ รองเท้ามีผลต่อเท้าลูก

     การใส่รองเท้ามีผลต่อกระดูกและรูปแบบเท้าของเด็กๆ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญในการเลือกซื้อรองเท้าให้กับลูก โดยรองเท้าส่งผลต่อเท้ายังไงและควรเลือกรองเท้าอย่างไรให้กับลูกในแต่ละช่วงอายุ ไปดูกันเลย


รองเท้ามีผลต่อการพัฒนาเท้าของเด็กในหลาย ๆ ด้าน

  1. การพัฒนากล้ามเนื้อและโครงสร้างของเท้า: การใส่รองเท้าที่เหมาะสมช่วยในการสนับสนุนการพัฒนากล้ามเนื้อและโครงสร้างของเท้าของเด็ก รองเท้าที่มีการสนับสนุนที่เหมาะสมสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการพัฒนาข้อที่ไม่ถูกต้อง
  2. การป้องกันการบาดเจ็บและการเจ็บปวด: รองเท้าที่มีความนุ่มนวลและเหมาะสมสามารถช่วยลดการเกิดบาดเจ็บและเจ็บปวดในเท้า เด็กที่ใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสมอาจพบว่ามีรอยแผล เจ็บปวด หรือเจ็บแผลในระหว่างการเดิน
  3. การส่งเสริมการทำกิจกรรมกีฬาและการเล่น: รองเท้าที่เหมาะสมสามารถสนับสนุนการทำกิจกรรมกีฬาและการเล่นของเด็กได้ดี รองเท้าที่มีการสนับสนุนที่เหมาะสมสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการบาดเจ็บขณะทำกิจกรรม
  4. การสนับสนุนการยึดมั่น: รองเท้าที่มีความยึดมั่นสามารถช่วยในการป้องกันการลื่นไถล ความยึดมั่นที่ดีสามารถช่วยให้เด็กมีความมั่นคงและสบายในการเดิน
  5. การป้องกันการบิดเบือน: รองเท้าที่มีการสนับสนุนเท้าและข้อของขาสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการบิดเบือนของข้อเท้า
  6. การส่งเสริมการพัฒนาทักษะการเดิน: การใส่รองเท้าที่เหมาะสมสามารถส่งเสริมการพัฒนาทักษะการเดินของเด็ก การมีรองเท้าที่ไม่เหมาะสมอาจทำให้เด็กมีปัญหาในการควบคุมการเดิน


การเลือกรองเท้าตามช่วงอายุของเด็ก โดยแบ่งเป็นดังนี้
     เด็กอายุ 0-1 ปี (Infancy) ช่วงนี้เด็กยังไม่มีความจำเป็นต้องใช้รองเท้า เพียงแต่อาจใช้ถุงเท้าใส่เดินเพื่อป้องกันความร้อนหรือเย็น
     เด็กอายุ 1-2 ปี (Young Infant) เด็กจะเริ่มหัดเดิน โดยธรรมชาติของการพัฒนากระดูกเท้าแล้ว ในระยะนี้ไม่มีความจำเป็นต้องใช้รองเท้า การใช้รองเท้าในระยะนี้มีจุดประสงค์เพียงป้องกันอันตรายจากสิ่งแวดล้อมภายนอก รองเท้าที่เหมาะสมในระยะนี้ควรจะนิ่มและยืดหยุ่นได้ดี เพื่อให้เกิดอิสระในการเดิน คล้ายกับการไม่สวมรองเท้า รองเท้าที่หนาหรือแข็งเกินไปจะเพิ่มแรงกดที่เท้าและส่งผลกระทบต่อพัฒนาการกระดูกเท้าของเด็ก
     เด็กอายุ 2-4 ปี (Middle aged Infant) ช่วงนี้เด็กจะเดินเยอะ ตามกฎธรรมชาติของการเจริญเติบโตของกระดูกเท้านั้น เท้าและข้อเท้ามีการอาการเอียงและแบนได้ เพราะฉะนั้นจึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้รองเท้าที่มีอุ้งเท้าหรือแก้เท้าแบน
     เด็กอายุ 4-6 ปี (Late Infant age) เป็นช่วงที่เด็กมีกิจกรรมทางกีฬามากขึ้น ทั้งกระโดด ปีนป่าย กระดูกเท้าจึงมีการพัฒนาและปรับตัวทางด้านรูปทรงของเท้าอย่างรวดเร็ว รองเท้าที่แนะนำในระยะนี้คือ รองเท้าหุ้มข้อเท้าและล็อคข้างใต้ข้อเท้าได้ โดยต้องไม่ยวบจนเกินไป แต่ไม่จำเป็นต้องมีซิลิโคนเสริมส้นเท้าเพื่อรองรับแรงกระแทก เพราะเด็กมีไขมันใต้ส้นเท้าที่รับแรงกระแทกได้ดีอยู่แล้ว ดังนั้น รองเท้าควรเป็นแบบพื้นราบและช่วงปลายเท้าควรยืดหยุ่นได้ดี โดยสังเกตได้จากการเดินไปข้างหน้า ส่วนปลายรองเท้าควรงอ แต่ต้องไม่งอตรงส่วนกลางของรองเท้า
     เด็กอายุ 6-10 ปี (Elementary School age) กระดูกเท้าปรับตัวเข้ารูปมากขึ้น โดยในผู้ชายจะมีการขยายที่ข้อกลางเท้าและในผู้หญิงรูปเท้าจะปรับเรียวมากขึ้น ทั้งนี้ มีการศึกษาพบว่าในระยะนี้จะมีแรงกดกระทำต่อกระดูกส้นเท้ามากขึ้นจากกิจกรรมที่เพิ่มขึ้น จึงควรเลือกรองเท้าที่ส่วนของส้นเท้ายกสูงขึ้นเล็กน้อย เพื่อให้น้ำหนักถ่ายเทมาที่ปลายเท้าแทน
     เด็กอายุ 12-15 ปี (Late School age) กระดูกมีการพัฒนาและปรับตัวจนสมบูรณ์ ในผู้หญิงกระดูกเท้าจะโตเต็มที่ช่วงอายุ 12-13 ปี ขณะที่ผู้ชายกระดูกเท้าโตเต็มที่อายุประมาณ 14-15 ปี ดังนั้น การเลือกรองเท้าในวัยนี้จึงคล้ายกับการเลือกใช้รองเท้าในผู้ใหญ่

    การเลือกรองเท้าเด็กควรพิจารณาทั้งความสะดวกสบาย ขนาดที่พอดีเท้า ความเหมาะสมกับช่วงวัย และความปลอดภัย การเลือกรองเท้าที่เหมาะสมเป็นประโยชน์สำหรับการพัฒนาของเท้าเด็ก

 **เทคนิคเพิ่มเติม ควรไปเลือกซื้อรองเท้าช่วงบ่ายหรือเย็นเนื่องจากเป็นช่วงที่เท้าขยายตัวสุด

อ้างอิง : https://www.vejthani.com/th/2019/11/


Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้