สัญญาณอันตราย ระหว่างตั้งครรภ์

Last updated: 11 ม.ค. 2567  |  214 จำนวนผู้เข้าชม  | 

สัญญาณอันตราย  ระหว่างตั้งครรภ์

สัญญาณอันตราย ระหว่างตั้งครรภ์

สัญญาณเตือนที่มักพบบ่อยในคุณแม่ที่ตั้งครรภ์และอาจนำมาสู่อันตรายในอนาคต คือ

  ลูกดิ้นน้อยลง การที่ลูกดิ้นนั้นแสดงให้เห็นถึงสัญญาณชีวิตและการขยับตัวของลูกน้อย โดยเป็นสิ่งที่สามารถบ่งบอกได้ถึงสุขภาพและความแข็งแรงของลูกน้อยในครรภ์ ซึ่งคุณแม่จะต้องสังเกตและนับจำนวนครั้งที่ลูกดิ้นอยู่เสมอ จากการเริ่มนับลูกดิ้นตั้งแต่อายุครรภ์ 32 สัปดาห์เป็นต้นไป   และลูกน้อยมักจะดิ่นบ่อยครั้งในช่วงเวลาหลังอาหารนั่นเอง ซึ่งหากลูกน้อยมีจำนวนการดิ้นที่น้อยผิดปกติหรือไม่ดิ้นเลย คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ควรเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจและวินิจฉัยอาการทันที
  มีเลือดออกทางช่องคลอด

สัญญาณเตือนถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นซึ่งอาจเกิดจากหลากหลายปัจจัย เช่น ครรภ์เป็นพิษ ท้องได้รับการกระทบกระเทือนมากเกินไป เป็นต้น ซึ่งอาการเหล่านี้ล้วนเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ทั้งสิ้น   หากไม่ต้องการให้ลูกน้อยได้รับอันตรายคุณแม่จึงควรดูแลตัวเองและไม่ให้หน้าท้องได้รับการกระทบกระเทือน หรือหากมีอาการเกิดขึ้นแล้วควรเข้าพบแพทย์ทันที
  รู้สึกเหมือนน้ำเดิน

หากมีน้ำใสๆ ที่ไม่ใช่ปัสสาวะออกมาจากทางช่องคลอดติดต่อกันยาวนานถึง 2 – 3 ชั่วโมง อาจเกิดจากการที่ถุงน้ำคร่ำเกิดการฉีกขาด รั่ว หรือแตก ซึ่งมีผลกระทบต่อทั้งคุณแม่และลูกน้อย เนื่องจากหากเข้ารับการรักษาไม่ทันอาจส่งผลให้โพรงมดลูกติดเชื้อจากการลุกลาม และทำให้คุณแม่และลูกน้อยมีอันตรายถึงชีวิตนั่นเอง
  มีอาการบวมตามบริเวณต่างๆ

อาการบวมนั้นเป็นอาการที่พบบ่อยในคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ แต่สำหรับคุณแม่บางคนอาจเป็นอันตรายมากกว่าที่คิด เพราะคุณแม่บางท่านอาจมีอาการร่วมด้วยที่บ่งบอกถึงภาวะครรภ์เป็นพิษ เช่น มีอาการบวมตั้งแต่หลังเท้า มือ นิ้ว ใบหน้า แขน หรือขา ปวดหัวรุนแรง และสายตาพร่ามัว รวมไปจนถึงมีภาวะแทรกซ้อนอย่าง น้ำหนักเพิ่มอย่างรวดเร็ว (1กก. : สัปดาห์) มีภาวะซีดและจ้ำเขียว เมื่อกดบริเวณที่บวมแล้วเนื้อบุ๋มลงไป มีความดันโลหิตสูง เป็นต้น ซึ่งหากมีอาหการเหล่านี้คุณแม่จะต้องเข้าพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการต่อไป
  ปวดท้อง ท้องแข็ง และตึง

หากคุณแม่มีอาการปวดบริเวณท้องน้อย มดลูก หรือหัวหน่าว รวมไปจนถึงการปวดท้องบริเวณมดลูกจากการที่มดลูกถูกบีบรัดและแข็งตัวจากสาเหตุต่างๆ เช่น การติดเชื้อจากระบบทางเดินปัสสาวะ ทำงานหนัก และพักผ่อนน้อย ก็จะทำให้เกิดอันตรายกับลูกน้อยหรือแท้งลูกได้เช่นเดียวกัน ซึ่งหากไม่อยากให้ลูกน้อยได้รับอันตราย คุณแม่ควรจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยการ ห้ามกลั้นปัสสาวะ พักผ่อนให้มากยิ่งขึ้น   และหากอาการไม่ดีขึ้นจะต้องเข้าพบแพทย์ในลำดับต่อไป

 เเพ้ท้องรุนแรง อาหารเเพ้ท้องรุนแรงจนไม่สมารถทานอาหารได้ ให้คุณแม่รีบไปพบเเพทย์ทันที

อ้างอิง : https://cryoviva.com/lifestyle-blog/

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้