Last updated: 3 พ.ย. 2566 | 546 จำนวนผู้เข้าชม |
ปกติแล้วเด็กจะพัฒนาจนพูดเป็นคำพูดในช่วงประมาณ 1 ขวบ จากนั้นจะเริ่มพูดคำที่มีความหมาย 2 คำติดกันเมื่ออายุประมาณ 2 ขวบ จนกระทั่งพูดเป็นประโยคยาวๆ ได้ในประมาณ 3-4 ขวบ โดยทั่วไปเด็กที่ถือว่ามีปัญหาพูดช้า ก็คือเด็กที่อายุ 2 ขวบแล้ว แต่ไม่สามารถพูดคำที่มีความหมายได้เลย ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ไม่ควรรอให้ลูก 2 ขวบแล้วจึงสังเกต
สาเหตุอะไรบ้างที่ทำให้ลูกพูดช้า ?
ลูกพูดช้า สังเกตได้จากการมีพัฒนาการด้านภาษาช้า คือ เด็กมีพัฒนาการด้านอื่นปกติ แต่พัฒนาการด้านภาษาช้าเพียงอย่างเดียว ซึ่งสาเหตุนั้นเกิดได้จากหลายกรณี เช่น
1. เด็กพูดช้าเพราะปากหนัก
เด็กบางคนพูดช้า แบบที่เรียกว่า “ปากหนัก” คือเด็กมีการรับรู้ภาษาสมวัย เข้าใจและทำตามคำสั่งง่ายๆ ได้ เพียงแต่ไม่เปล่งเสียงพูด ซึ่งเด็กมักจะบอกความต้องการด้วยการชี้บอก หรือใช้ภาษาท่าทางอื่นๆ เด็กบางคนมีประวัติครอบครัวพูดช้า หรือพูดไม่ชัดด้วย ในเด็กกลุ่มนี้มักพัฒนาการพูดต่อไปได้จนเป็นปกติเหมือนกับเด็กอื่นๆ ทั่วไปในที่สุด
2. เด็กที่มีความล่าช้าทั้งด้านความเข้าใจและการพูด
เด็กกลุ่มนี้จะมีความสามารถในการเข้าใจภาษาเหมือนเด็กในวัยเดียวกัน ซึ่งผู้เลี้ยงดูเด็กส่วนมากสังเกตเห็นแต่เฉพาะการพูดช้าของเด็ก แต่มักมองข้ามความเข้าใจด้านภาษา
3. เด็กที่มีการใช้ภาษาเพื่อสื่อสารบกพร่อง
เด็กกลุ่มนี้ไม่สามารถใช้ภาษาให้เหมาะสมตามสถานการณ์ หรือใช้ภาษาไม่ถูกกาลเทศะ
4. ภาวะบกพร่องทางสติปัญญา
หรือที่เรียกกันว่า เด็ก “ไม่รู้เรื่อง” เมื่อเทียบกับเด็กคนอื่นๆ ในวัยเดียวกัน มักมีความบกพร่องทั้งด้านความเข้าใจสถานการณ์ การปรับตัว ความจำ เด็กมักจะพูดช้ากว่าวัย ร่วมกับมีทักษะการเล่น หรือการแก้ปัญหาช้ากว่าเด็กทั่วไปด้วย
5. โรคออทิสติก
คือ เด็กมีความบกพร่องด้านการสื่อสารสัมพันธ์กับผู้อื่น เด็กจะพูดช้าหรือเคยพูดได้แล้ว แต่หยุดไปหรือพูดเป็นภาษาต่างด้าว เป็นคำที่ไม่มีความหมาย มีพฤติกรรมแยกตัว ไม่ค่อยเล่นหรือสุงสิงกับคนอื่น ไม่ค่อยสบตาหรือชี้บอกความต้องการ บางคนอาจมีพฤติกรรมซ้ำๆ เช่น หมุนตัว มองของที่หมุนได้นานๆ เป็นต้น
6. เด็กที่มีภาวะการได้ยินบกพร่อง
เด็กกลุ่มนี้ จะมีความรุนแรงของอาการในระดับที่ต่างกัน คือ เด็กบางคนไม่ได้ยินเลย หรือได้ยินไม่ชัดเจนจึงพูดไม่ได้ หรือพูดช้า พูดน้อยกว่าปกติ เด็กมักจะพยายามจ้องมองปากเวลาคู่สนทนาพูด หรือพยายามสังเกตท่าทางของผู้อื่น สื่อสารกับผู้อื่นโดยการใช้ภาษากาย ใช้ท่าทางประกอบการสื่อสาร
วิธีที่จะสังเกตว่าลูกพูดช้าผิดปกติหรือไม่ ดูได้จาก 2 ส่วนสำคัญ คือ
1. ลูกเข้าใจภาษาหรือไม่ และลูกใช้ภาษาอย่างไร โดยปกติเมื่อเด็กอายุประมาณ 15 เดือน คุณพ่อคุณแม่ต้องหมั่นสังเกตว่าเจ้าตัวน้อยของคุณออกเสียงพูดที่มีความหมายบ้างหรือไม่ เช่น “หม่ำๆ” เวลาหิว หรือในกรณีที่พยายามสื่อสารหรือชวน เช่น “ปะๆ”
2. ในส่วนของความเข้าใจภาษา คือ เด็กควรจะเริ่มหันมอง ชี้ของที่อยากได้ หรือสิ่งที่ตนเองสนใจได้ แต่หากอายุ 15 เดือนแล้วยังไม่พูดคำที่มีความหมายเลย ไม่ตอบสนองกับคำถามง่ายๆ แบบนี้ให้คุณพ่อคุณแม่สงสัยว่าเด็กน่าจะมีความผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์
8 วิธีง่ายๆที่จะช่วยกระตุ้นการพูดให้ลูก
1. สื่อสารกับลูก: คุยกับลูกในทุกๆ โอกาส จะช่วยให้ลูกได้ยินและเรียนรู้ภาษาไปพร้อมๆ กับเวลา
2. อ่านหนังสือ: การอ่านหนังสือเป็นวิธีที่ดีเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาและความรู้ในลูก
3. เล่นเกมทางภาษา: เล่นเกมหรือกิจกรรมที่ใช้ภาษา เช่น การบอกคำ, การพูดตามรูปภาพ, หรือเล่นเกมที่ใช้คำพูด
4. การฟังเพลงและร้องเพลง: เพลงช่วยให้ลูกได้ยินคำพูดและเรียนรู้ไปพร้อมๆ กับการเพลง
5. ตั้งคำถาม: กระตุ้นความสนใจของลูกโดยการถามคำถาม ซึ่งจะช่วยให้ลูกมีโอกาสในการใช้ภาษา
6. ปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน: การปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนช่วยให้ลูกมีโอกาสในการใช้ภาษาในสถานการณ์ทางสังคม
7. ไม่ควรให้ความกดดัน: ให้ลูกพัฒนาทักษะพูดไปพร้อมๆ กับการเติบโต ไม่ควรให้ความกดดันที่ไม่จำเป็น
8. ให้เวลา: ให้เวลาให้ลูกพัฒนาทักษะการพูดของตนเอง ไม่ควรกดดันให้ทันที
การพัฒนาทักษะการพูดของลูกเป็นกระบวนการที่ส่วนใหญ่เป็นธรรมชาติ ควรรอให้ลูกเรียนรู้และพัฒนาตนเองตามระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับแต่เด็กละคน แต่หากสังเกตแล้วการพูดช้าของลูกผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์โดยเร็วเพื่อจะได้หาแนวทางในการแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง
อ้างอิง : https://www.phyathai.com/th/article/2953-childs_delayed_speech_treatment_branchpyts
1 มิ.ย. 2567
6 มิ.ย. 2567
6 มิ.ย. 2567
1 มิ.ย. 2567