Last updated: 13 ก.ย. 2566 | 573 จำนวนผู้เข้าชม |
อาการไอเรื้อรังในเด็ก
อาการแบบไหนเรียกว่า “ไอเรื้อรัง”
การไอ เป็นกลไกทางร่างกายอันหนึ่งในการป้องกันตนเอง หรือ กำจัดสิ่งแปลกปลอมจากร่างกาย เช่น กำจัดเสมหะ เพื่อพยายามรักษาตนเองให้แข็งแรง ให้หายใจได้สะดวกขึ้น แต่ว่าถ้าลูก หรือ เด็ก ๆ มี อาการไอนานหลายสัปดาห์ก็ยังไม่หาย อาจเรียกว่า “ไอเรื้อรัง”
ไอเรื้อรัง จะมีอาการไอต่อเนื่องยาวนานถึง 1 เดือน หรือ 3-4 สัปดาห์ขึ้นไป ซึ่งระยะเวลาค่อนข้างนานมาก ก็คงจำเป็นที่จะต้องพาลูกไปหาคุณหมอ หรือหาสาเหตุที่ทำให้เด็กมีอาการไอเรื้อรัง
สาเหตุของอาการไอเรื้อรัง
สาเหตุของอาการไอเรื้อรังสามารถแบ่งได้เป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือ
การรักษาอาการไอเรื้อรังในเด็ก
การรักษาอาการไอเรื้อรัง จำเป็นต้องทราบสาเหตุที่ทำให้เกิดการไอ ซึ่งหลังจากซักประวัติและตรวจอย่างละเอียด แพทย์จะทราบสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้ไอ ให้การการรักษาอย่างตรงจุดและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จะทำให้อาการไอเรื้อรังนั้นหมดไป การดูแลอาการประคับประคอง โดยปกติจะหายภายใน 1 ถึง 3 สัปดาห์ (ขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรง)
การดูแลเด็กที่มีอาการไอเรื้อรัง
การป้องกันไม่ให้ เด็กไอเรื้อรัง
การที่น้ำมูกและเสมหะไหลลงหลอดลมเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เด็กไอ ดังนั้นควรล้างจมูกเพื่อไม่ให้มีน้ำมูกตกค้างในโพรงจมูกจะได้ไม่กระตุ้นอาการไอ นอกจากนั้นควรใช้ยาควบคุมอาการอย่างสม่ำเสมอ รู้จักหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น เพื่อไม่ให้อาการกำเริบขึ้นมาอีก
การล้างจมูกทำอย่างไรบ้าง
- ในเด็กเล็กใช้น้ำเกลือ 1-2 หยด หยดลงในจมูกทีละข้างขณะนอนตะแคงหน้า โดยจับหน้าให้นิ่งน้ำเกลือจะไหลทำให้น้ำมูกไม่เหนียวและไหลลงไปได้เอง ถ้ามีน้ำมูกมากอาจใช้ลูกยางแดงเบอร์ 0-1 ช่วยดูดน้ำมูกโดยใส่ในรูจมูกลึกประมาณ 1-1.5 ซม. บางรายอาจต้องใส่ลึกถึง 3-4 ซม. แต่ต้องทำด้วยความระมัดระวัง
- ในเด็กโตถ้าน้ำมูกไม่มากนัก ให้ทำขณะนั่ง โดยแหงนหน้าเล็กน้อย ใช้น้ำเกลือหยดเข้าจมูกข้างละ 3-4 หยด ทิ้งไว้สักครู่แล้วก้มหน้าสั่งน้ำมูก ทำซ้ำหลายครั้งจนสะอาด แล้วจึงทำอีกข้างที่เหลือแต่ถ้าน้ำมูกมีปริมาณมากแนะนำให้ใช้หลอดฉีดยา ขนาด 10 ซีซี (ไม่ใส่เข็ม) ดูดน้ำเกลือครั้งละ 5-10 ซีซี ค่อย ๆ ฉีดเข้าในรูจมูก ขณะก้มหน้า และมีภาชนะรองรับ ไม่จำเป็นต้องฉีดแรง จะพบน้ำมูกไหลตามออกมา จากนั้นให้สั่งน้ำมูก แล้วทำซ้ำหลาย ๆ ครั้งในแต่ละข้างจนสะอาด ควรทำบ่อย ๆ อย่างน้อยเมื่อตื่นนอนตอนเช้า และก่อนเข้านอน ช่วงกลางวันถ้าแน่นจมูกหรือน้ำมูกมากก็ควรทำซ้ำอีก
การล้างจมูกบ่อยๆ อันตรายหรือไม่
ส่วนมากคุณพ่อคุณแม่รวมทั้งตัวเด็กจะบอกตรงกันว่าสบายขึ้นและโล่งจมูก นอนได้ดีขึ้น ไม่ไอ รับประทานนมและอาหารได้ สำหรับเด็กเล็ก การดูดน้ำมูกต้องทำด้วยความนุ่มนวลและจับหน้าให้นิ่ง เด็กโตไม่จำเป็นต้องสั่งน้ำมูกรุนแรง แต่ให้อ้าปาก สั่งน้ำมูกเบาๆ สามารถทำได้หลาย ๆ ครั้ง จนกว่าล้างจมูกแล้วไม่มีน้ำมูกออกมา น้ำเกลือที่ใช้มีสัดส่วนใกล้เคียงกับสารในร่างกาย จึงไม่มีอันตราย ถ้ากลืนลงคอไปบ้างก็ไม่มีอันตรายเช่นเดียวกัน
หากเด็กมีอาการไอติดต่อกัน ไอแม้ในขณะนอน รบกวนชีวิตประจำวัน ควรรีบพาเด็กไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจหาสาเหตุอย่างละเอียด อย่าปล่อยเรื้อรังไว้นาน เด็กจะได้เรียนรู้และพักผ่อนได้อย่างเต็มที่
อ้างอิง : https://www.vibhavadi.com/Health-expert/detail/9
อ้างอิง : https://www.samitivejhospitals.com/
6 มิ.ย. 2567
1 มิ.ย. 2567
6 มิ.ย. 2567
1 มิ.ย. 2567