ลูกติดมือถือหนัก! แก้อย่างไร
ปัจจุบัน พบเด็กไทยมีอัตราการติดมือถือขนาดหนักที่ต้องเข้ารับการบำบัดรักษาราว 10-15% เนื่องมาจากเนื้อหาและรูปแบบของเกมที่สนุกสนาน ช่วยสร้างความสุขให้กับเด็กๆ บวกกับเทคโนโลยีที่ทำให้สื่อต่างๆ กลายเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวและเข้าถึงง่าย ทำให้ผู้ปกครองควบคุมดูแลการใช้มือถือของเด็กๆ ได้ยากยิ่งขึ้น
ปัญหา #ลูกติดมือถือ นับเป็นปัญหาสำคัญของหลายๆ ครอบครัว จากสถิติในปัจจุบัน พบว่ามีเด็กๆ ที่อยู่หน้าจอมากถึง 35 ชั่วโมง/สัปดาห์ ซึ่งโดยปกติแล้วไม่ควรเกิน 16 ชั่วโมง/สัปดาห์
อาการแบบนี้…บ่งบอกลูกติดมือถือหนัก!
ไม่สนใจหรือเลิกทำกิจกรรมที่เคยชอบ
ละเลยหน้าที่ความรับผิดชอบ
ควบคุมเวลาเล่นมือถือของตนเองไม่ได้
หงุดหงิด โมโหรุนแรง
ปล่อยลูกติดมือถือ เสี่ยง “พฤติกรรมโมโหร้าย สมาธิสั้น”
หากคุณพ่อคุณแม่ ปล่อยให้ลูกมีพฤติกรรม “ติดมือถือ” นอกจากจะสร้างพฤติกรรมที่ไม่ดีแล้ว ยังส่งผลเสียต่อสุขภาพด้านต่างๆ
เมื่อลูกติดมือถือ แท็บเล็ต แก้ไขอย่างไรดี?
หากเด็กเกิดพฤติกรรมติดมือถือ จะส่งผลทั้งในด้านพฤติกรรม ความเครียด ทั้งต่อตัวเด็กและคุณพ่อคุณแม่ด้วย ซึ่งทำให้กระทบต่อความสัมพันธ์ที่ดีภายในครอบครัวไปด้วยคุณพ่อคุณแม่จะจัดการกับปัญหานี้อย่างไรดี? อันดับแรกคือการเป็นแบบอย่างที่ดี (Role Model) ให้กับลูก และปรับพฤติกรรมให้ลูกมีการใช้มือถืออย่างเหมาะสม
กำหนดเวลาเล่นมือถือให้ชัดเจน จำกัดเวลาในการใช้งานให้เหมาะสมตามวัย
สร้างกิจกรรมทดแทน พ่อแม่เล่นกับลูกเยอะๆ ทำกิจกรรมร่วมกับเด็กๆ เพื่อเป็นการกระตุ้นพัฒนาการ
สานความสัมพันธ์ ไม่ใช่ตามใจ ให้โอกาสเด็กๆ ได้เล่นอิสระ กับเพื่อนๆ ตามความเหมาะสม
เลือกประเภทเกมที่เหมาะสม ไม่ปล่อยให้เด็กอยู่กับหน้าจอตามลำพัง ควรให้คำแนะนำเนื้อหาที่ดูกับเด็กไปด้วย
พ่อแม่เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูก เลิกนิสัยติดหน้าจอตลอดเวลา
ไม่เก็บมือถือไว้ในห้องนอน ไม่ควรซื้อมือถือ แท็บเล็ตให้เด็กๆ ใช้ส่วนตัว
อ้างอิง : https://www.sikarin.com/health/
1 มิ.ย. 2567
1 มิ.ย. 2567
6 มิ.ย. 2567
6 มิ.ย. 2567