โรคลมชักในเด็ก

Last updated: 9 ส.ค. 2566  |  627 จำนวนผู้เข้าชม  | 

โรคลมชักในเด็ก

โรคลมชักในเด็ก

โรคลมชักในเด็ก พ่อแม่รู้เท่าทัน ลูกน้อยก็ปลอดภัย

     โรคลมชักในเด็ก หนึ่งในโรคที่สร้างความทุกข์ใจให้กับคุณพ่อคุณแม่ สาเหตุการเกิดโรคนี้มีได้หลายอย่าง อาจเกิดจากกรรมพันธุ์ ความผิดปกติของระบบประสาท เคยเกิดอุบัติเหตุที่กระทบกระเทือนสมอง หรือเนื้องอกในสมอง เป็นต้น โดยรูปแบบการชัก อาจมีอาการได้ดังต่อไปนี้

  • ชักแบบเหม่อนิ่ง เด็กมักไม่ตอบสนองต่อการเรียก พบมากในเด็ก 5-10 ปี
  • ชักแบบกระตุกแขนขาเป็นชุดๆ พบมากในเด็ก 3 เดือน -1 ปี
  • ชักแบบไม่รู้ตัว มีอาการเตือน ระหว่างชักจำอะไรไม่ได้
  • ชักต่อเนื่อง อันตรายหากชักเกิน 30 นาที
    สำหรับโรคลมชักในเด็ก การรักษาเบื้องต้นคือ การให้ยากันชัก เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 2 ปี หรือนานกว่านั้น แต่ในผู้ป่วยบางรายที่รับประทานยาแล้วไม่ได้ผล อาจจำเป็นต้องทำการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด

พ่อแม่ต้องรู้! ลูกชักควรทำอย่างไร? วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น “ลมชักในเด็ก”

ลูกชัก ต้องทำอย่างไร ?

 มีสติ ไม่ตื่นเต้น ให้ลูกนอนลงในที่โล่ง และสังเกตการชักให้ละเอียด (บันทึกภาพได้ยิ่งดี)

 จับลูกนอนตะแคง หาวัสดุหนุนศีรษะลูก คลายเสื้อผ้า และหากมีอาหารในปากให้เอาออก

 ห้ามงัดปากลูกเด็ดขาด! อย่าให้คนมามุง และระวังอย่าเอาสิ่งของเข้าปากลูก

 เช็ดเศษอาหาร น้ำลาย โดยไม่ต้องพยายามงัด หรือเปิดปาก

 รอจนลูกหยุดชัก โดยส่วนมาก อาการชักจะหยุดใน 2-3 นาที เช็กว่ามีบาดแผลหรือไม่ จากนั้นรีบนำส่งโรงพยาบาล

วิธีรักษาโรคลมชัก

      วิธีการรักษาขั้นต้นคือ การให้ยากันชักซึ่งโดยทั่วไปเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 2 ปีหรือนานกว่านั้น และการรักษาสาเหตุของการเกิดโรคลมชักนั้นๆ ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถรักษาจนหายขาดได้ แต่ในบางรายทำได้เพียงแค่ยับยั้งไม่ให้เกิดอาการชักโดยรับประทานยาควบคุมอย่างต่อเนื่อง ในปัจจุบันยากันชักมีอยู่หลายชนิด ซึ่งมีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการควบคุมอาการชัก ผู้ป่วยร้อยละ 70 สามารถรักษาหรือควบคุมอาการได้ด้วยการใช้ยาและหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นการชัก เช่น การอดนอน นอกจากนี้ แพทย์อาจแนะนำให้ใช้การควบคุมอาหารแบบคีโตเจนิค ไดเอท (Ketogenic Diet) เพื่อลดอาการชักควบคู่ไปด้วย โดยส่วนใหญ่การควบคุมอาหารแบบนี้จะใช้กับเด็กที่ควบคุมอาการชักได้ยากและเมื่อการใช้ยาไม่ได้ผลเท่าที่ควร
      สำหรับผู้ป่วยที่รับประทานยาแล้วไม่ได้ผล แพทย์อาจเสนอทางเลือกด้วยการใช้วิธีการผ่าตัด ทางโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ได้นำวิธีการผ่าตัดอันทันสมัยที่เรียกว่า SEEG (Stereoelectroencephalography) มาใช้เป็นรายแรกและโรงพยาบาลเดียวในขณะนี้ของโรงพยาบาลเอกชน เป็นการผ่าตัดเพื่อฝังอิเลคโตรดเข้าไปในสมองเพื่อค้นหาจุดกำเนิดของลมชักได้อย่างแม่นยำก่อนการผ่าตัดจุดกำเนิดชักออก โดยได้ผลการผ่าตัดที่น่าพึงพอใจ

อ้างอิง : https://www.sikarin.com/health/

อ้างอิง :  https://www.bumrungrad.com/th/

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้