Last updated: 22 ก.ค. 2566 | 2513 จำนวนผู้เข้าชม |
โรคไข้เลือดออก ภัยร้ายจากยุงลาย
สาเหตุของโรคไข้เลือดออก
เชื้อไวรัสเดงกีซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 4 สายพันธุ์ คือ DENV-1, DENV-2, DENV-3 DENV-4 นั้นมียุงลายตัวเมียเป็นพาหะนำโรค เมื่อยุงลายดูดเลือดผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสเดงกี เชื้อจะเข้าไปฝังตัวภายในกระเพาะและต่อมน้ำลายของยุงโดยมีระยะฟักตัวประมาณ 8-12 วัน เมื่อยุงที่มีเชื้อไวรัสไปกัดคนอื่นๆ ต่อ เชื้อไวรัสก็จะเข้าสู่กระแสเลือดของผู้ที่โดนกัด ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกตามมา
ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกที่เคยได้รับเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใดจะมีภูมิคุ้มกันเฉพาะสายพันธุ์นั้น หากได้รับเชื้อไวรัสสายพันธุ์ที่ต่างออกไปจากครั้งแรกก็สามารถเป็นไข้เลือดออกได้อีก และโดยทั่วไปอาการของโรคครั้งที่สองมักรุนแรงกว่าครั้งแรก
ทั้งนี้ ในแต่ละปีพบว่ามีการกระจายของเชื้อทั้ง 4 สายพันธุ์หมุนเวียนกัน และมีเชื้อที่เด่นแตกต่างกันไปในแต่ละปี ทำให้มีการระบาดของโรคมาโดยตลอด เนื่องจากประชาชนไม่มีภูมิต้านทานต่อเชื้อไวรัสสายพันธุ์นั้นๆ
อาการไข้เลือดออก แบ่งออกเป็น 3 ระยะ
ระยะไข้
อาการของผู้ป่วยไข้เลือดออกระยะนี้จะมีไข้สูงตลอดเวลา มักจะไม่ค่อยตอบสนองต่อยาลดไข้ ซึ่งอาจมีอาการเบื่ออาหาร ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน และอาจมีผื่นหรือจุดเลือดออกตามตัว ร่วมด้วย โดยระยะไข้นั้นจะใช้เวลาประมาณ 2 – 7 วัน
ระยะวิกฤติ
ในระยะนี้ไข้จะลดต่ำลง ผู้ที่ไม่มีอาการแทรกซ้อน อาการไข้เลือดออกที่เป็นอยู่จะค่อย ๆ ดีขึ้น ส่วนกรณีผู้ป่วยที่มีอาการแทรกซ้อนเลือดออกตามร่างกาย อาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียนจะยังไม่ดีขึ้น ซึ่งหากอาการรุนแรง อาจส่งผลให้เกิดภาวะช็อก ความดันต่ำ มือเท้าเย็นลง ชีพจรเต้นเบา (Weak Pulse) และเร็ว ปัสสาวะออกน้อย เลือดออกง่าย เช่น มีเลือดกำเดาไหล อาเจียนเป็นเลือด อุจจาระมีสีดำ และอาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยอาการระยะนี้จะใช้เวลาประมาณ 24 – 48 ชั่วโมง ดังนั้นหากพบผู้มีอาการไข้เลือดออกเกิน 2 วันควรรีบนำตัวส่งแพทย์ทันที !
ระยะฟื้นตัว
ระยะนี้อาการของผู้ป่วยไข้เลือดออกจะค่อย ๆ ดีขึ้น มีความรู้สึกอยากอาหารเพิ่มขึ้น ความดันโลหิตจะค่อย ๆ ปรับตัวสูงขึ้นจนเข้าสู่สภาวะปกติ ชีพจรเต้นแรง (Bounding Pulse) และช้าลง บางรายอาจยังมีผื่นแดง และจุดเลือดออกเล็ก ๆ ตามตัว
ปัจจัยเสี่ยงของโรคไข้เลือดออก
โรคไข้เลือดออกสามารถพบได้ทุกเพศทุกวัย แต่พบบ่อยในเด็กวัยเรียนและวัยทำงานตอนต้น ซึ่งผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงต่อการดำเนินโรคที่รุนแรงหรือภาวะแทรกซ้อน ได้แก่
อาการของโรคไข้เลือดออกอาการของผู้ที่ติดเชื้อไวรัสเดงกีนั้น แบ่งเป็น 2 ชนิดตามความรุนแรง คือ
โรคไข้เดงกี (dengue fever) ซึ่งอาการที่พบได้แก่ ปวดศีรษะ ปวดกระบอกตา ปวดเมื่อยตามตัว ปวดข้อหรือกระดูก มีผื่นขึ้นคล้ายผื่นของโรคหัด และอาจมีภาวะเลือดออกหรือไม่มีก็ได้
ส่วนโรคไข้เลือดออกนั้น นอกจากจะมีอาการเช่นเดียวกับโรคไข้เดงกีแล้ว ยังมีอาการอื่นๆ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของโรค คือ
ในรายที่มีอาการรุนแรงมาก หลังจากมีไข้มาแล้วหลายวันผู้ป่วยอาจเกิดภาวะการไหลเวียนโลหิตล้มเหลวหรือภาวะช็อก และเข้าสู่ระยะที่เรียกว่า กลุ่มอาการไข้เลือดออกช็อก (dengue shock syndrome) โดยผู้ป่วยจะมีอาการกระสับกระส่าย ปลายมือปลายเท้าเย็น ปัสสาวะน้อยลง ไข้ลดลงอย่างรวดเร็ว ความดันโลหิตลดต่ำ วัดชีพจรไม่ได้
สำหรับผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะช็อก หลังจากมีไข้สูง 2-7 วัน ไข้จะเริ่มลดลง ระบบไหลเวียนโลหิตเริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ ความดันโลหิตและชีพจรเริ่มคงที่ เมื่อผ่านไป 2-3 วันจึงเข้าสู่ระยะหายเป็นปกติ ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้น ไข้ลดลง เริ่มรับประทานอาหารได้ อาการปวดท้องดีขึ้น ระยะนี้มักพบผื่นแดงและคันตามฝ่ามือและฝ่าเท้าซึ่ง จะหายได้เองภายใน 1 สัปดาห์
การป้องกันโรคไข้เลือดออกโรคไข้เลือดออกสามารถป้องกันได้ ดังนี้
ป้องกันไม่ให้ยุงลายกัด โดยสวมใส่เสื้อผ้าที่ปกปิดมิดชิด ใช้สารไล่ยุงชนิดต่างๆ เช่น DEET รวมถึงป้องกันไม่ให้ยุงลายเข้ามาหลบซ่อนในบ้าน ทั้งนี้ ยุงลายมักกัดในเวลากลางวันมากกว่ากลางคืน
ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายบริเวณบ้านและใกล้เคียง ด้วยการปิดฝาภาชนะที่มีน้ำขังไม่ให้ยุงเข้าไปวางไข่ได้ เปลี่ยนน้ำในภาชนะที่ปิดไม่ได้ เช่น แจกัน ทุกสัปดาห์ ปล่อยปลากินลูกน้ำในอ่างบัว ปรับปรุงสภาพแวดล้อมบริเวณบ้านให้สะอาดปราศจากเศษวัสดุที่อาจมีน้ำขังได้ เช่น ขวดเก่า กระป๋องเก่า เป็นต้น
ในรายที่อายุมากกว่า 9 ปี และน้อยกว่า 45 ปี ร่วมกับมีประวัติ เคยเป็นไข้เลือดออกมาแล้ว อาจพิจารณาฉีดวัคซีนป้องกันไข้เลือดออกจากสายพันธุ์อื่น
อ้างอิง : https://www.bumrungrad.com/th/
อ้างอิง : https://www.exta.co.th/
6 มิ.ย. 2567
6 มิ.ย. 2567
1 มิ.ย. 2567
1 มิ.ย. 2567