ภาวะขาโก่ง (bowed leg)
ภาวะขาโก่ง (bowed leg) เป็นภาวะหนึ่งที่พบได้บ่อยในเด็กเล็ก โดยส่วนมากผู้ปกครองมักสังเกตเห็นได้มากในช่วงที่เด็กเริ่มเดินที่อายุประมาณ 1 ปี ซึ่งภาวะขาโก่งในเด็กอาจพบได้ทั้งที่เป็นขาโก่งตามธรรมชาติ (physiologic bowed leg) ที่สามารถหายได้เอง หรือภาวะขาโก่งแบบที่เป็นโรค (pathologic bowed leg) ที่อาจมาจากหลายสาเหตุและจำเป็นต้องได้รับการรักษาที่เหมาะสม การสังเกตในเบื้องต้นว่าเด็กที่มีภาวะขาโก่งนั้นเป็นขาโก่งตามธรรมชาติ หรือขาโก่งแบบที่เป็นโรคนั้นอาจสังเกตได้จาก
1. อายุ
โดยปกติแล้วเด็กทุกคนจะมีขาที่โก่งตามธรรมชาติอยู่แล้วเมื่อแรกเกิด แต่เมื่อโตขึ้นขาจะค่อย ๆ ตรงขึ้นได้เองและควรมีขาที่ตรงเมื่ออายุประมาณ 2 ปี ดังนั้นถ้าเด็กมีอายุมากกว่า 2 ปีแล้วแต่ยังคงมีขาที่โก่งอยู่ควรปรึกษาแพทย์เพราะอาจมีความเสี่ยงที่จะเป็นขาโก่งแบบที่เป็นโรค
2. ขาที่โก่งนั้นเป็นทั้ง 2 ข้างหรือไม่
ภาวะขาโก่งตามธรรมชาติ ขาควรจะโก่งพอๆกันทั้ง 2 ข้าง หากเด็กมีภาวะขาโก่งข้างเดียวหรือความโก่งของขาทั้ง 2 ข้างต่างกันมากอย่างชัดเจนน่าจะเป็นขาโก่งแบบที่เป็นโรค
3. ความอ้วน
ความอ้วนของเด็กนั้นเป็นความเสี่ยงที่สำคัญที่ทำให้เป็นโรคขาโก่ง ดังนั้นหากพบว่าเด็กมีภาวะขาโก่งร่วมกับมีน้ำหนักตัวมากกว่าเกณฑ์จะมีความเสี่ยงสูงขึ้นที่จะเป็นขาโก่งแบบเป็นโรค
4. เริ่มเดินได้เร็ว
จากรายงานทางการแพทย์พบว่าการที่เด็กเริ่มเดินได้เร็วกว่าปกติเป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่งของการเกิดภาวะขาโก่ง
ความเชื่อผิดๆเกี่ยวกับภาวะขาโก่ง
ในการรักษาผู้ป่วยเด็กขาโก่งนั้นพบว่ายังมีความเชื่อผิดๆอยู่หลายประการ เช่น
ความเชื่อนี้ไม่จริง อาจเป็นเพราะช่วงที่เด็กยังเล็กเมื่อใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูปจะเห็นว่าขาโก่งแต่นั่นเป็นภาวะขาโก่งตามธรรมชาติของเด็กเล็กอยู่แล้ว และไม่มีรายงานทางการแพทย์ที่พบว่าการใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูปเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคขาโก่งได้
ไม่ได้เป็นความจริง อาจเนื่องมาจากการที่ในอดีตมีผู้ปกครองที่สังเกตว่าลูกขาโก่งแล้วพยายามดัดหรือใช้ผ้ารัดขาคู่กันแล้วพบว่าต่อมาเด็กขาโก่งลดลง แต่ในความเป็นจริงเกิดจากเด็กเป็นภาวะขาโก่งตามธรรมชาติ ซึ่งจะดีขึ้นได้เองอยู่แล้วเมื่อเด็กโตมากขึ้นแม้ไม่ได้รับการรักษาใดๆ ทำให้ดูเหมือนการดัดขาได้ผล ลดการขาโก่งได้ แต่ถ้าหากเป็นภาวะขาโก่งที่เป็นโรคการดัดขาหรือการใช้ผ้าพันจะไม่สามารถรักษาได้และทำให้เด็กเกิดความเจ็บปวดรวมถึงอาจทำให้เกิดกระดูกหักได้ และยิ่งได้รับการรักษาที่เหมาะสมล่าช้าออกไปจึงไม่ควรดัดขาลูก
อ้างอิง : https://www.synphaet.co.th/
1 มิ.ย. 2567
1 มิ.ย. 2567
6 มิ.ย. 2567
6 มิ.ย. 2567