คุณแม่ท้องเสียมีวิธีรับมือได้อย่างไรบ้าง

Last updated: 19 มิ.ย. 2566  |  2134 จำนวนผู้เข้าชม  | 

คุณแม่ท้องเสียมีวิธีรับมือได้อย่างไรบ้าง

คุณแม่ท้องเสียมีวิธีรับมือได้อย่างไรบ้าง

อาการท้องเสียแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
     - ท้องเสียแบบติดเชื้อ
คือจะถ่ายเหลว ถ่ายเป็นน้ำ ถ่ายบ่อย ลักษณะอุจจาระจะมีมูกเลือดหรือฟองปน ร่วมกับมีไข้ ครั่นเนื้อครั่นตัว พะอืดพะอม คลื่นไส้ แนะนำพบแพทย์ และรักษาได้ด้วยการให้ยาฆ่าเชื้อ

     - ท้องเสียแบบไม่ติดเชื้อ
จะมีอาการแค่ถ่ายเหลวถ่ายบ่อย 3-4 ครั้งขึ้นไป อาจมีอาการคลื่นไส้ร่วมด้วยแต่จะไม่มีไข้ ซึ่งท้องเสียแบบนี้จะหายไปได้เอง และคุณแม่สามารถดูแลตัวเองได้

การดูแลตัวเองเบื้องต้นเมื่อคุณแม่ท้องเสีย

  • ควรดื่มน้ำสะอาดในปริมาณที่มากขึ้น เพื่อทดแทนน้ำที่สูญเสียไป
  • หากมีอาการอ่อนเพลีย ควรดื่มน้ำเกลือแร่ให้มากๆ เพื่อทดแทนน้ำในร่างกายที่สูญเสียไป
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดอาการท้องเสีย หรือย่อยยาก อาหารบางประเภทสามารถทำให้อาการท้องเสียแย่ลง เช่น อาหารไขมันสูง ของทอด อาหารรสเผ็ด อาหารไฟเบอร์สูง นมและผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากนมวัว 
  • รับประทานอาหารอ่อนหรืออาหารเหลวเช่น ข้าวต้ม โจ๊กก่อนทานอาหารทุกครั้งควรล้างมือหรือภาชนะอาหารให้สะอาด และพยายามพักผ่อนให้มากขึ้น
  • ไม่เลือกใช้ยาแก้ท้องเสียด้วยตัวเอง
  • ห้ามซื้อยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียมากินเอง แต่ควรปรึกษาสูติแพทย์ก่อน
  • ห้ามกินยาหยุดถ่าย เพราะการหยุดถ่ายทันทีอาจทำให้เชื้อโรคยังค้างอยู่ในร่างกาย และยาต่างๆ อาจส่งผลต่อคุณแม่ตั้งครรภ์และลูกน้อย


วิธีป้องกันตัวเองเบื้องต้น

  • เลือกรับประทานอาหารที่ปรุงสุกออกจากเตาใหม่ทุกครั้ง งดอาหารสุกๆ ดิบๆ
  • ระมัดระวังการกินน้ำแข็ง น้ำดื่ม หรือน้ำผลไม้คั้นที่ไม่สะอาด
  • หมั่นดูแลสุขอนามัย รักษาความสะอาด ล้างมือทุกครั้งหลังจากเข้าห้องน้ำก่อนและหลังทำอาหาร
  • ทำความสะอาดชักโครก ที่รองนั่งและปุ่มกดชักโครกด้วยแอลกอฮอล์หรือน้ำยาฆ่าเชื้อ

ท้องเสียขณะตั้งครรภ์ แล้วมีอาการแบบนี้ คุณแม่ควรรีบไปพบแพทย์
       อาการท้องเสียตอนตั้งครรภ์ โดยมากแล้วมักไม่รุนแรงจนน่าวิตกกังวล แต่ถ้าหากคุณแม่มีอาการท้องเสียตอนตั้งครรภ์ ดังต่อไปนี้ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที 
             - ท้องเสียติดต่อกันตั้งแต่ 2-3 วัน และอาการไม่ดีขึ้น 
             - ท้องเสียและมีอาการปวดท้องเกร็งร่วมด้วย 
             - ขณะที่มีอาการท้องเสีย รู้สึกว่าลูกไม่ดิ้น ไม่เคลื่อนไหวเหมือนปกติ 
             - มีอาการของภาวะขาดน้ำ เช่น ปากแห้ง ผิวแห้ง อ่อนเพลีย 
             - ท้องเสีย และมีไข้ 
             - ท้องเสีย และคลื่นไส้ อาเจียน 
             - มีเลือดปนออกมากับอุจจาระ 
             - ท้องเสียและมีอาการปวดท้องส่วนล่างร่วมด้วย 
             - ท้องเสีย และมีอาการใกล้คลอด เช่น น้ำคร่ำแตก ปากมดลูกเปิด มีเลือดไหลออกทางช่องคลอด 




อ้างอิงเเหล่งข้อมูล : https://www.phyathai.com/article_detail/

อ้างอิงเเหล่งข้อมูล : https://www.enfababy.com/

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้