Last updated: 22 เม.ย 2566 | 209 จำนวนผู้เข้าชม |
เชื้อโรคใกล้ตัว ที่คุณคิดว่าไม่เป็นอันรายต่อลูกน้อย
โรคภัยไข้เจ็บ ไม่ว่าจะโรคไหนก็ไม่มีใครอยากเป็น ยิ่งถ้าเกิดกับลูกน้อยของคุณพ่อคุณแม่ยิ่งน่าเป็นห่วงเข้าไปใหญ่ วันนี้พวกเราเลยจะมาแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับโรคภัยที่ เด็กๆ อาจเป็นยาก แต่จะอันตรายมากๆ ถ้าไม่รีบรักษา จะมีโรคอะไรบ้างลองดูกันได้เลย
โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
เป็นโรคที่เกิดการติดเชื้อที่อาจเกิดจากเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อราบริเวณเยื่อหุ้มรอบสมองและไขสันหลังจนทำให้เกิดการอักเสบบวม และตามมาด้วยอาการอื่นๆ เช่น ปวดศีรษะ คอแข็ง ขยับไม่ได้ และเป็นไข้ อัตราการเสียชีวิตและอัตราเสี่ยงเกิดการพิการจากโรคนี้สูงมาก คุณพ่อคุณแม่จึงควรรีบพาลูกน้อยไปหาคุณหมอทันทีถ้ามีอาการ
โรคคอตีบ
เป็นโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจจากเชื้อแบคทีเรีย สามารถติดต่อได้จากการไอ จาม สัมผัสกับผู้ป่วยหรือสิ่งของเครื่องใช้ที่มีการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เนื้อเยื่อบริเวณลำคอบวม หายใจลำบาก กล้ามเนื้ออักเสบ และอาจทำให้เสียชีวิตได้เนื่องจากเกิดการอุดกั้นของระบบทางเดินหายใจแบบเฉียบพลัน
โรคเส้นเลือดอักเสบในเด็ก
เป็นโรคที่มีความหลากหลาย โดยหากเป็นการอักเสบที่เส้นเลือดขนาดใหญ่จะมีโอกาสเกิดความอันตรายมากและรุนแรงถึงแก่ชีวิตได้ เช่น เส้นเลือดที่ออกจากหัวใจ แต่ที่พบบ่อยกว่า คือเส้นเลือดขนาดเล็กที่ทำให้เด็กมีผื่นขึ้นตามขาและก้น ลักษณะเป็นจ้ำสีแดงและค่อย ๆ คล้ำขึ้นจนเปลี่ยนเป็นสีม่วง และหากผื่นมีขนาดใหญ่เด็กจะรู้สึกเจ็บ ลักษณะของผื่นจากโรคเส้นเลือดอักเสบจะน่ากลัวกว่าผื่นทั่วไปอย่างมาก
โรคหอบหืด
เป็นโรคที่เกิดขึ้นเนื่องจากหลอดลมของเด็กตอบสนองต่อสิ่งที่มากระตุ้นมากกว่าภาวะปกติ ทำให้หลอดลมมีการหดเกร็งและบวม เนื่องจากการอักเสบ ผู้ป่วยจะไอ แน่นหน้าอก หายใจลำบาก หายใจมีเสียงดังการหอบอาจเกิดขึ้นแบบเฉียบพลัน หรือเป็นๆ หายๆ และเรื้อรัง
โรคปอดอักเสบ
เป็นโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง โดยเด็กจะมีอาการของไข้ ไอ หอบ คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตอาการหอบได้โดยนับอัตราการหายใจ หากมีอัตราการหายใจเร็วกว่าปกติตามเกณฑ์อายุ ร่วมกับอาการไม่กินนม และหายใจแรง ควรรีบไปพบคุณหมอโดยด่วน
ทั้งนี้หากถ้าคุณพ่อคุณแม่พบว่าลูกมีอาการป่วยหนักหรือมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคที่กล่าวในข้างต้น แนะนำ ให้รีบมาตรวจรักษากับคุณหมอทันที โดยที่ โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์ แผนก ไอซียู เด็ก เราพร้อมให้การรักษาเด็กที่มีอาการหนัก ด้วยแพทย์เฉพาะทางมากประสบการณ์ ให้การดูแลอย่างใกล้ชิดภายใน PICU ตลอด 24 ชั่วโมง
โรคมือ เท้า ปาก
เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Enterovirus (EV) หรือซึ่งแพร่เชื้อออกมาในน้ำลายและอุจจาระผู้ป่วย การรับเชื้อสามารถรับผ่านทางปาก จากการปนเปื้อนเชื้อที่มือ ของเล่น น้ำ อาหาร โดยผู้ป่วยแพร่เชื้อได้ 2-3 วัน ก่อนมีอาการจนถึง 1-2 สัปดาห์ หลังมีอาการจะพบเชื้อในอุจจาระได้หลายสัปดาห์หรือเป็นเดือน และหลังได้รับเชื้อ 3-6 วันจะปรากฏอาการ ส่วนมากมักพบในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี
o อาการที่สังเกตได้ คือ มีไข้, ผื่นที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ปาก ลิ้น เหงือก อาการจะหายไปเอง ภายใน 7-10 วัน ผู้ป่วยอาจมีอาการแทรกซ้อนซึ่งพบได้น้อยมาก เช่น สมองอักเสบ, กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ดังนั้นหากเด็กมีอาการของโรคมือเท้าปากให้รีบพาเด็กไปพบแพทย์
o การรักษา โรคมือ เท้า ปาก รักษาตามอาการ เช่น ให้ยาลดไข้ (paracetamol) เด็กบางคนมีแผลหลายแผลในปากรับประทานอาหารและน้ำได้ไม่เพียงพอ เด็กไม่ยอมกลืนน้ำลายและไม่ยอมให้ทำความสะอาดปากแผลในปากจะหายช้า อาจให้รับประทานยาชาก่อนอาหารประมาณ 10 นาที เพื่อไม่ให้เจ็บแผล ทำให้สามารถรับประทานอาหารและน้ำได้ หรือหากเป็นมากขึ้นอาจจำเป็นต้องให้น้ำเกลือทางเส้นเลือด
o การป้องกัน ไม่สัมผัสใกล้ชิดเด็กที่ป่วย สอนเด็กล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ และป้องกันการแพร่เชื้อโดยไม่ใช้อุปกรณ์และภาชนะในการรับประทานและดื่มน้ำร่วมกับผู้อื่น แยกเด็ก ไม่ควรพาไปเที่ยว อาจจะแพร่เชื้อไปสู่เด็กอื่นได้ เด็กวัยเรียน ควรหยุดเรียน 1 สัปดาห์ ตั้งแต่เริ่มมีผื่น
โรคไข้เลือดออก
เป็นโรคภาวะติดเชื้อไวรัสเดงกี่ (Dengue) ซึ่งมี 4 สายพันธุ์ ได้แก่ เดงกี่ 1,2,3 และ 4 โดยมี “ยุงลาย” เป็นพาหะนำโรค คือ เมื่อยุงลายที่มีเชื้อไวรัสไข้เลือดออกกัดคน จะถ่ายทอดเชื้อให้คนทำให้เกิดอาการ ยุงลายนี้มักจะเพาะพันธุ์ตามแหล่งน้ำนิ่งในบริเวณบ้าน เช่น ตุ่มน้ำ โอ่งน้ำ หรือหลุมที่มีน้ำขัง เป็นต้น
o อาการที่สังเกตได้ คือ มีอาการไข้สูงลอยอย่างต่อเนื่อง 39-41 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 2-7 วัน, หน้าแดง ปวดศีรษะ ปวดกระดูก ปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระบอกตา, เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้องบริเวณลิ้นปี่ หรือใต้ชายโครงขวา, มีเลือดออก เช่น จุดเลือดออกตามผิวหนัง เลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน และในรายที่อาการรุนแรงอาจพบว่ามีอาการอาเจียนเป็นเลือดเกิดขึ้น หากมีอาการผิดปกติควรรีบพบแพทย์ทันที
o การรักษา ไข้เลือดออกให้ผู้ป่วยพักผ่อนในที่ๆ มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก, เช็ดตัวด้วยน้ำธรรมดาหรือน้ำอุ่น เช็ดนาน 10-15 นาที การเช็ดตัวลดไข้จะทำให้ผู้ป่วยสบายตัวขึ้น, ให้รับประทานยาลดไข้ พาราเซตามอล โดยควรรับประทานยาพาราเซตามอลห่างกันอย่างน้อย 4-6 ชม./ครั้ง และไม่ควรรับประทานยาแอสไพริน หรือยาลดไข้ไอบูโพรเฟนเพราะจะเพิ่มความเสี่ยงของภาวะเลือดออก
ดื่มน้ำเกลือแร่ หรือน้ำผลไม้ใส่เกลือเล็กน้อย โดยให้จิบทีละน้อย ไม่ควรดื่มน้ำเปล่าเพียงอย่างเดียว และรับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่มีสีดำหรือแดง เช่น น้ำแดง แตงโม ช็อกโกแลต เป็นต้น เพื่อเป็นการป้องกันการสับสนว่าลูกอาเจียนเป็นเลือดหรืออาหาร ติดตามอาการ ตามคำแนะนำของแพทย์ โดยเฉพาะช่วง 3-5 วัน หลังจากเริ่มมีไข้
· การป้องกัน ไข้เลือดออก ป้องกันได้โดยไม่ให้ยุงกัด การกำจัดยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก ปิดภาชนะขังน้ำให้มิดชิด ป้องกันไม่ให้ยุงลายลงไปวางไข่, เปลี่ยนน้ำในแจกัน ถังเก็บน้ำ ทุก 7 วัน เพื่อตัดวงจรลูกน้ำที่จะกลายเป็นยุง, ปล่อยปลากินลูกน้ำในภาชนะใส่น้ำถาวร เช่น ปลาหางนกยูง ปลากัด ปลากระดี่, ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้ปลอดโปร่ง โล่ง สะอาด ลมพัดผ่าน ไม่เป็นที่เกาะพักของยุงลาย และปฏิบัติเป็นประจำจนเป็นนิสัย
โรคอุจจาระร่วง
อาจเกิดได้ทั้งจากเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย พบมากในกลุ่มเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี อาการเบื้องต้นท้องเสียมากกว่า 3 ครั้งต่อวัน เมื่อเด็กมีอาการท้องเสียหรือมีอาเจียน เด็กจะมีอาการขาดน้ำและเกลือแร่ ฉะนั้นพ่อแม่ต้องสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด ควรรีบพบแพทย์ทันที
การรักษา โรคอุจจาระร่วง ไม่มียารักษาเฉพาะ แต่สามารถรักษาผู้ป่วยให้หายได้ด้วยวิธีรักษาตามอาการ หากเด็กกินไม่ได้ ต้องให้น้ำ/เกลือแร่ทดแทนทางหลอดเลือดดำ เมื่อมีไข้ รักษาอาการไข้โดยเช็ดตัวและให้ยาลดไข้ หากปวดท้องหรือท้องอืด ควรให้ยาขับลม หากเด็กหยุดอาเจียน ให้รับประทานข้าวต้มหรือโจ๊กได้
การป้องกัน หมั่นล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่หรือเจลล้างมือ กำจัดขยะมูลฝอย เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงวัน และรับประทานอาหารที่ปรุง “สุก ร้อน สะอาด”
ปัจจุบันโรคท้องเสียที่เกิดจากไวรัสโรต้ามีวัคซีนในการป้องกัน ชนิดหยอดที่ใช้ได้เฉพาะในเด็กเล็กเท่านั้น ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแล้วว่ามีประสิทธิภาพในการป้องกันโรค ลดความรุนแรงของโรค และมีความปลอดภัยสูง โดยจะเริ่มหยอดครั้งแรกในเด็กที่มีอายุเกิน 6 สัปดาห์ ขึ้นไปและจะให้ครั้งต่อไปห่างจากครั้งแรก 4 สัปดาห์ โดยหยอดทางปาก 2 หรือ 3 ครั้ง ขึ้นอยู่กับชนิดของวัคซีน สำหรับเด็กโตให้เน้นด้านการรักษาสุขอนามัยส่วนตัว
อ้างอิง: https://www.khonkaenram.com/th/services/health-information/health-articles/pediatrics/rsv
6 มิ.ย. 2567
1 มิ.ย. 2567
1 มิ.ย. 2567
6 มิ.ย. 2567