Last updated: 18 เม.ย 2566 | 183 จำนวนผู้เข้าชม |
1. ให้ลูกพักผ่อนให้เพียงพอ เพราะระหว่างที่นอนหลับร่างกายจะนำสารอาหารต่าง ๆ ไปซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ขับของเสียออกจากอวัยวะต่าง ๆ เพิ่มระบบภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย และฟื้นฟูพลังงาน ทำให้อาการเป็นไข้ ตัวร้อนลดลงและหายไข้ได้ไวขึ้น
2. อยู่ในห้องที่อากาศถ่ายเทสะดวก ไม่อับหรือร้อนเกินไป ช่วงที่ลูกเป็นไข้ ลูกตัวร้อน ลูกไม่สบาย เขาจะไม่สบายตัว รวมถึงการหายใจที่ไม่ค่อยสะดวก เพราะมีความร้อนออกมาจากลมหายใจด้วย ดังนั้นคุณแม่ควรให้ลูกนอนในที่อากาศถ่ายเทสะดวกเพื่อช่วยให้ลูกรู้สึกสดชื่น ผ่อนคลาย และห้องโปร่ง ๆ ยังช่วยไม่ให้เกิดการสะสมของเชื้อโรคเพิ่มเติมด้วย
3. หากลูกมีไข้สูงให้ปฐมพยาบาลด้วยการเช็ดตัวลูก ลองเช็ดตัวลดไข้ ลดตัวร้อนให้ลูกด้วยการผสมน้ำอุ่นกับน้ำมะนาว แล้วใช้ผ้าเช็ดตัวผืนเล็กหรือผ้าอ้อมผืนนุ่ม ๆ มาชุบน้ำ บิดหมาด เช็ดถูตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น หน้าผาก ซอกคอ รักแร้ ขาหนีบ และข้อพับต่างๆ เพื่อช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตที่ผิวหนัง และช่วยลดไข้ ลดอาการตัวร้อน
4. ดื่มน้ำมาก ๆ พยายามให้ลูกดื่มน้ำเยอะๆเพราะน้ำจะช่วยควบคุมอุณหภูมิในร่างกาย และยังช่วยกระตุ้นให้เซลล์ผิวหนังชุ่มชื่นด้วย
5. ให้ลูกกินยาลดไข้ Paracetamol เมื่อลูกเป็นไข้ ลูกตัวร้อนสูงเกิน 37.5 องศาเซลเซียส ไม่สบายตัว หรือปวดตัว ให้เลือกยาลดไข้สำหรับเด็กที่มีส่วนผสมของพาราเซตามอล ซึ่งเป็นตัวยาที่เหมาะสำหรับการลดไข้เด็กมากที่สุด
การเช็ดตัวเพื่อลดไข้
สิ่งที่ต้องเตรียม
1.อ่างใส่น้ำ
2. ผ้าขนหนูผืนเล็ก 2-4 ผืน
3. ผ้าเช็ดตัวผืนใหญ่
วิธีเช็ดตัว
ถอดเสื้อผ้าเด็กออกก ในห้องที่มีอุณหภูมิไม่ร้อนหรือเย็นเกินไป
ใช้ผ้าขนหนูผืนเล็กในอ่างแล้วบิดหมาดๆ เช็ดตามผิวแรงพอประมาณ ตามขั้นตอนดังนี้
· เช็ดบริเวณหน้าและพักไว้ที่ซอกคอ หลังหู นาน 2-3 นาที แล้วนำผ้ามาชุบน้ำบิดหมาดๆ เช็ดบริเวณหน้าผากและศีรษะ แล้วพักผ้าไว้ที่หน้าผากนาน 2-3 นาที ทำสลับกัน เช็ดบริเวณแขนทั้งสองข้าง โดยเริ่มเช็ดจากปลายแขนเข้าหาตัว เช็ดซ้ำๆ แล้วพักผ้าไว้บริเวณรักแร้ นาน 2-3 นาที แล้วชุดน้ำอีกครั้งเช็ดตามลำตัว แล้วพักผ้าไว้บริเวณหน้าอก นาน 2-3 นาที ทำสลับกัน
· เช็ดขาทั้งสองข้าง โดยเริ่มเช็ดจากปลายขาเข้าหาลำตัวซ้ำๆ แล้วพักผ้าไว้ที่ข้อเข่าหรือขาหนีบ นาน 2-3 นาที
· เช็ดด้านหลัง โดยตะแคงตัวเด็ก เช็ดซ้ำหลายๆ ครั้งตั้งแต่คอจนถึงบริเวณก้น
· ให้รองตัวเด็กด้วยผ้าแห้ง เพื่อลดความไม่สบายตัว
· ให้เปลี่ยนน้ำใหม่เมื่อน้ำในอ่างเย็นลง
· ให้เช็ดตัวแต่ละรอบนานประมาณ 15-20 นาที จนรู้สึกว่าตัวเด็กเย็นลง
· ใช้ผ้าเช็ดตัวให้แห้งและสวมใส่เสื้อผ้าที่โปร่งสบายความร้อนได้ดี
ให้วัดอุณหภูมิร่างกายซ้ำ หลังจากเช็ดตัวเสร็จ 30 นาที แล้วให้เช็ดซ้ำเมื่อมีไข้สูง
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง เมื่อลูกเป็นไข้
สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อย ในปัจจุบัน ประเดี๋ยวร้อน ประเดี๋ยวเย็น ประเดี๋ยวฝนตก ทำให้เด็กๆ โดยเฉพาะเด็กวัยตั้งแต่ 0-2 ปีที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายยังไม่แข็งแรงพอปรับสภาพร่างกายไม่ทัน ยิ่่งเมื่อพบปะใกล้ชิดกับคนที่ป่วยอยู่แล้ว จึงมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย โดยเฉพาะเชื้อไวรัสและแบคทีเรียต่างๆ ซึ่งอาจแสดงอาการที่เห็นได้บ่อย คือ อาการไข้
เมื่อลูกเป็นไข้ อุณหภูมิในร่างกายจะสูงมากกว่า 37.5 องศาเซลเซียส และถ้าอุณหภูมิร่างกายมากกว่า 38.5 องศาเซลเซียส จะถือว่าลูกเป็นไข้สูง ซึ่งอาการไข้สูงในเด็กเล็กอาจทำให้ลูกเกิดอาการชักได้ค่ะ
เมื่อลูกเป็นไข้ เพื่อหลีกเลี่ยงอาการชัก คุณแม่จำเป็นต้องลดอุณหูมิในร่างกายของลูกลง ด้วยการเช็ดตัวย้อนแนวไรขน ด้วยผ้าชุบน้ำอุณหูมิปกติ ให้รับประทานยาลดไข้ทุก 4-6 ชั่วโมง ดื่มน้ำมากๆ และที่สำคัญอาหารที่ไม่ควรให้ลูกรับประทานในช่วงที่ลูกป่วยเป็นไข้นั้น ได้แก่ อาหารในกลุ่มที่จัดว่ามีปริมาณโพแทสเซียมสูง เพราะอาหารที่มีโพแทสเซียมสูงนั้น จะทำให้อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้น หากให้ลูกรับประทานเข้าไปในระหว่างที่เป็นไข้ อาจทำให้ลูกเกิดอาการชักได้ค่ะ
อาหารที่มีโพแทสเซียมสูงที่ไม่ควรให้ลูกรับประทานในระหว่างเป็นไข้ ส่วนใหญ่ล้วนเป็นอาหารใกล้ตัว และอาจเป็นของชอบของเด็กๆทั้งนั้นเลยค่ะ อาทิเช่น ผงโกโก้ ลูกพรุนอบแห้ง ทุเรียนชะนี-หมอนทอง กล้วยหอม กล้วยไข่ แก้วมังกร ส้มสายน้ำผึ้ง น้อยหน่าหนัง ฝรั่งแป้นสีทอง ขนุน กล้วยน้ำว้า มะละกอแขกดำ ปลาแซลมอน ผักโขม (สด) ลูกเกด เมล็ดทานตะวัน เป็นต้น
ในช่วงที่ลูกเป็นไข้นั้น ควรงดอาหารดังกล่าวเสียก่อน เพื่อหลีกเลี่ยงอาการชักที่อาจเกิดขึ้นได้นะคะ และเมื่อลูกเริ่มมีอาการไข้ คุณพ่อคุณแม่ควรจัดการลดอาการไข้แต่เนิ่นๆ เพื่อไม่ให้อาการลุกลามมากไปกว่านี้ค่ะ
อ้างอิง:https://www.rakluke.com/child-development-all/kid-development/item/5-40.html
6 มิ.ย. 2567
1 มิ.ย. 2567
1 มิ.ย. 2567
6 มิ.ย. 2567