พัฒนาการการได้ยินของลูกน้อย เริ่มตั้งแต่เมื่อไร

Last updated: 16 มี.ค. 2566  |  310 จำนวนผู้เข้าชม  | 

พัฒนาการการได้ยินของลูกน้อย เริ่มตั้งแต่เมื่อไร

พัฒนาการการได้ยินของลูกน้อย เริ่มตั้งแต่เมื่อไร

การได้ยิน ถือเป็นพัฒนาการที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะการได้ยินเป็นพื้นฐานที่สำคัญของพัฒนาการด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการพูด และด้านภาษา เพราะการที่ลูกน้อยจะพูดได้ตามพัฒนาการปกติจำเป็นจะต้องมีการได้ยินที่ปกติ ถ้าพัฒนาการด้านการได้ยินมีความผิดปกติ หรือไม่ได้รับการกระตุ้นส่งเสริมที่เหมาะสม ก็อาจส่งผลต่อการออกเสียง การพูดและทักษะภาษาของลูกได้ต่อไปในอนาคต

พัฒนาการการได้ยินของลูกน้อยในช่วงวัยต่างๆ

ช่วงตั้งครรภ์

พัฒนาการการได้ยินของลูกน้อยจริง ๆ แล้วเกิดขึ้นตั้งแต่ในครรภ์ ลูกน้อยจะมีการพัฒนาอวัยวะต่าง ๆ ที่ใช้ในการได้ยินตั้งแต่ตั้งครรภ์ได้ 4 สัปดาห์ และเริ่มได้ยินเมื่ออายุประมาณ 24 สัปดาห์ แต่ยังไม่สามารถจำแนกเสียงได้ จนถึงอายุครรภ์ 35 สัปดาห์ขึ้นไปลูกน้อยจึงจะเริ่มแยกเสียงต่ำและเสียงสูงได้ ขณะอยู่ในครรภ์ เสียงที่ลูกน้อยได้ยินจะเป็นเสียงต่าง ๆ ภายในตัวคุณแม่ เช่น เสียงหัวใจเต้น เสียงหายใจ เสียงพูดคุย การที่คุณพ่อคุณแม่พูดคุยกับลูกตั้งแต่ลูกอยู่ในครรภ์จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการการได้ยินของลูกได้เป็นอย่างดี และเกิดความคุ้นเคยใกล้ชิดกับเสียงแม่

ช่วงหลังคลอด

เมื่อเริ่มเข้า 6 เดือน เมื่อย่างเข้า 9 เดือน ลูกจะเริ่มหันหาเสียงได้ทุกทิศทางซ้าย-ขวา และบน-ล่าง เริ่มพัฒนาด้านความชัดเจนในการได้ยินอย่างเต็มที่เพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาทางภาษาต่อไป

ช่วงอายุ 0 – 3 เดือน ลูกน้อยจะสามารถได้ยินเสียงตั้งแต่แรกเกิด แต่ยังไม่สามารถหันหาต้นกำเนิดของเสียงได้ และลูกยังไม่รู้ว่าเสียงที่ได้ยินนั้นมาจากที่ไหนและเป็นเสียงอะไร แต่เมื่อได้ยินเสียงจะมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อเสียงได้ เช่น เงียบลงเพื่อฟัง ส่งเสียงตอบกลับเสียงที่ได้ยิน หรือขยับตัวตอบรับเสียง
ช่วงอายุ 3 - 6 เดือน ลูกเริ่มรู้จักหาต้นกำเนิดของเสียง เริ่มแยกเสียงคนที่คุ้นเคย เริ่มรู้จักเสียงแม่หรือเสียงพ่อ
ช่วงอายุ 6 – 9 เดือน ลูกจะเริ่มมองหาต้นกำเนิดของเสียงว่ามาจากด้านไหน และสามารถส่งเสียงตอบรับได้
ช่วงอายุ 10 – 15 เดือน ลูกน้อยสามารถส่งเสียงเลียนแบบตามที่ได้ยินซ้ำ ๆ ได้ เข้าใจเสียงต่าง ๆ มากขึ้น เช่น เสียงสัตว์ต่าง ๆ เป็นต้น
วิธีการส่งเสริมทักษะทางด้านการได้ยินให้กับลูกน้อย คุณพ่อคุณแม่สามารถทำได้ดังต่อไปนี้

การพูดคุยพร้อมสบตากับลูกบ่อย ๆ จะช่วยให้ลูกมีพัฒนาการที่สัมพันธ์กันระหว่างตาที่มองเห็นและการได้ยิน
การร้องเพลงกล่อมหรือเปิดเพลงเพราะให้ลูกน้อยฟัง
เลือกของเล่นที่มีเสียงที่เหมาะกับช่วงวัยให้ลูกเล่น เช่น กรุ๊งกริ๊ง หรือตัวบีบมีเสียง
จัดให้ลูกน้อยนอนในห้องเงียบ ๆ ไม่มีเสียงรบกวน
หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่มีเสียงดังมาก ๆ เป็นเวลานาน ๆ

 

 

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก คุณหมอแอน พญ.ปิยะรัตน์ เลิศบรรณพงษ์ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้