ประโยชน์ของการออกกำลังกายในคุณแม่ตั้งครรภ์ มีอะไรบ้าง ไปดูกันค่ะ
.
ปัจจุบันคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ไม่มีข้อห้ามในการออกกาลังกาย จะได้รับการส่งเสริมให้ออกกำลังกายได้ตลอดการตั้งครรภ์ เนื่องจากพบว่าการออกกาลังกายขณะตั้งครรภ์มีประโยชน์และมีความปลอดภัย สามารถเริ่มทำได้ในทั้งผู้ที่ไม่เคยออกกำลังกายมาก่อนหรือออกกำลังกาย เป็นประจำอยู่แล้ว ซึ่งการออกกำลังกาย ไม่เพียงแต่จะช่วยเรื่องสุขภาพร่างกายของคุณแม่โดยตรงแล้ว แต่ยังช่วยลดหรือป้องกันความเสี่ยงต่าง ๆ ทั้งระยะสั้นและระยะยาวที่อาจเกิดขึ้นได้ขณะตั้งครรภ์
การออกกำลังกายที่แนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์
คุณแม่ตั้งครรภ์ได้รับคำแนะนำให้ออกกาลังกายสม่ำเสมอที่ระดับปานกลาง โดย ช่วงแรกเริ่มจาก 15 นาที/วัน น้อยกว่า 3 วัน/สัปดาห์ จากนั้นค่อย ๆ เพิ่มทีละน้อย จนได้ประมาน 20-30 นาที/วัน 3-5 วัน/สัปดาห์ (โดยรวมประมาน 150 นาที/สัปดาห์) เทียบเท่ากับการออกกาลังกายเพื่อส่งเสริมสุขภาพในผู้ใหญ่ทั่วไป ผู้ที่ไม่เคยหรือไม่ค่อยได้ออกกำลังกายมาก่อนควรเริ่มที่ความหนักระดับเบาก่อน
รูปแบบการออกกำลังกายที่แนะนำ ได้แก่ การออกกำลังกายรูปแบบแอโรบิคแรงกระแทกต่ำ เช่น เดิน ว่ายน้ำ ออกกำลังกายในน้ำ (Hydrotherapy) ปั่นจักรยานแบบขี่อยู่กับที่ เต้นแอโรบิค เดินหรือแอโรบิคในน้ำ (Aquatic Treadmill Exercise) โยคะยืดกล้ามเนื้อท่าง่าย ๆ สำหรับคนท้อง หากต้องการออกกาลังกายแบบมีแรงต้าน เช่น ยกเวท ดัมเบล วิ่ง หรือวิ่ง เหยาะ ๆ ควรเป็นผู้ที่เคยออกกาลังกายชนิดนี้มาก่อนเป็นประจำและควรได้รับการปรึกษาจากแพทย์หรือผู้ดูแล นอกจากนี้ควรออกกำลังกายเสริมความแข็งแรงของอุ้งเชิงกรานและกล้ามเนื้อรอบ ๆ ร่วมด้วยเพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะปัสสาวะเล็ด
ประโยชน์ของการออกกำลังกายในคุณแม่ตั้งครรภ์ ได้แก่
- ช่วยป้องกันน้ำหนักขึ้นมากเกินระหว่างตั้งครรภ์
- ช่วยป้องกันภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์
- ช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
- ช่วยลดอาการปวดหลัง
- ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดอาการปัสสาวะเล็ด
- ช่วยป้องกันภาวะซึมเศร้าหรือทำให้อาการความเครียดดีขึ้น
- ช่วยคงสุขภาพร่างกายแข็งแรง
- ช่วยป้องกันระยะการพักฟื้นและการดูแลหลังคลอดที่ฟื้นตัวนานเกินไป
- ช่วยลดความเสี่ยงต่อการผ่าตัดคลอด
ข้อห้ามในการออกกำลังกายในคุณแม่ตั้งครรภ์
- มีโรคหัวใจหรือปอดอย่างรุนแรง
- มีภาวะปากมดลูกหลวม
- มีตั้งครรภ์แฝดหลายคนที่มีความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด
- มีเลือดออกปากช่องคลอดในไตรมาสที่สองและสามของการตั้งครรภ์ หรือมีเลือดออกจากปากช่องคลอดใด ๆ ที่ยังไม่ทราบสาเหตุ
- มีภาวะรกเกาะต่ำหลังอายุครรภ์ 26 สัปดาห์
- มีถุงน้ำคร่ำแตก
- มีภาวะครรภ์เป็นพิษหรือมีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
- มีภาวะซีดรุนแรง
- มีภาวะทารกโตช้าในครรภ์
- มีโรคเบาหวานชนิดที่ 1 โรคความดันโลหิตสูง หรือโรคไทยรอยด์ที่รุนแรงและควบคุมไม่ได้
6 มิ.ย. 2567
6 มิ.ย. 2567
1 มิ.ย. 2567
1 มิ.ย. 2567